เผยปลูกไม้ประดับ 22 ชนิดนี้ ช่วยดูดสารพิษในอากาศ ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ
คอมเมนต์:
การปลูกไม้ประดับ 22 ชนิดนี้ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยเลือกชนิดให้เหมาะสมกับสภาพ หรือบริเวณที่จะนำไม้ประดับไปปลูก เพื่อให้ไม้ประดับเจริญเติบโตต่อไปได้นาน สร้างความสวยงาม และบรรยากาศให้กับบ้านและบริเวณบ้าน ที่สำคัญที่สุดคือช่วยลดปริมาณสารพิษในอากาศ ที่เราสูดหายใจเข้าไปทุกวัน ทำให้เราลดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสารพิษได้
1.หมากเหลือง
Sponsored Ad
เป็นพืชตระกูลปาล์มที่ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางสูง 5-10 เมตร เป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัด ชอบความชื้นสูงและคายความชื้นสูง แต่ปลูกภายในอาคารได้ ด้านการดูแลต้องให้น้ำตอนเช้าวันละครั้ง และใส่ปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละ 1 ครั้ง สามารถดูดสารพิษจากอากาศได้มาก
2. จั๋ง
Sponsored Ad
จั๋งเป็นพืชตระกูลปาล์มที่มีขนาดเล็ก เป็นพืชที่เจริญเติบโตช้า แต่เป็นพืชเลี้ยงง่ายและทนแล้ง จึงทนการขาดน้ำได้หลายวัน ทนต่อโรคและแมลงได้ดี อยู่ได้ทั้งแสงแดดจัดและกึ่งแดด ปลูกได้ในอาคารแต่ต้องมีแสงแดดพอสมควร
เจริญได้ดีในดินร่วน ด้านการดูแลให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักละลายน้ำ แล้วรดปีละ 2 ครั้ง สามารถดูดสารพิษจากอากาศได้มาก
3. เศรษฐีเรือนใน
Sponsored Ad
เป็นไม้กอขนาดเล็ก มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เมื่อแก่เต็มที่จะมีลำต้นอ่อนแตกออกมาเป็นกิ่ง เป็นพืชที่ไม่ชอบแสงแดดตรงๆ แต่ปลูกได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร เจริญได้ดีในดินร่วนซุย ด้านการดูแลไม่ต้องให้น้ำมาก แต่ให้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรด 2 เดือน/ครั้งก็พอ สามารถดูดสารพิษจากอากาศภายในอาคารได้ดีมาก เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์เป็นต้น
4. ไอวี่
Sponsored Ad
เป็นไม้เถาคลุมดิน แตกใบเป็นแฉกๆ คล้ายใบตำลึง เจริญได้ดีในที่ที่เป็นแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนท์ และปลูกได้ดีในอาคาร ด้านการดูแลไม่ต้องรดน้ำบ่อยเพียงรดเมื่อดินแห้ง ค่อยๆ รดจนหน้าดินเปียก ไม่ให้น้ำท่วมขัง ถ้าอากาศแห้งให้สเปรย์น้ำ ให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงจะทำให้ได้ไอวี่ที่เขียว สามารถดูดสารพิษจำพวกเบนซีนได้ถึงร้อยละ 90 และดูดฟอร์มัลดีไฮด์ได้ด้วย
5. เดหลี
Sponsored Ad
เป็นไม้พุ่มเตี้ย สูง 30-60 เซนติเมตร ปลูกได้ภายในอาคาร แม้จะมีความชื้นต่ำ และรับแสงจากหลอดไฟฟ้า ด้านการดูแลควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และมากขึ้นในช่วงที่มีอากาศร้อน แต่ถ้าอากาศเย็นต้องลดปริมาณการรดน้ำ สามารถดูดสารพิษจำพวกแอลกอฮอล์อาซีโตน ไตรคลอโรเอททีรีน เบนซีน และฟอร์มัลดีไฮด์ได้มาก
6. ยางอินเดีย
Sponsored Ad
ลักษณะทั่วไปมีลำต้นตั้งตรง ลักษณะเด่นอยู่ที่ใบ มีลักษณะกลมรีปลายแหลม ใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ถ้าปลูกกลางแจ้งจะสูงได้ถึง 30 เมตร ถ้าปลูกในอาคารจะสูงไม่มาก เป็นไม้ที่ชอบแสงแดด แต่เจริญได้ดีในสภาพแสงน้อย เจริญได้ดีในดินร่วนซึ่งระบายน้ำได้ดี ปลูกง่ายทนทาน เป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่คายความชื้นได้มาก และก็สามารถดูดสารพิษได้มากเช่นกัน
7. ปาล์มไผ่
Sponsored Ad
เป็นพืชตระกูลปาล์มที่มีหน่อแตกเป็นกอ เจริญเติบโตช้า แต่เลี้ยงง่าย ทนทาน ทนต่อแมลง เป็นไม้กึ่งแดด ที่ต้องการแสงร่มรำไร จึงปลูกได้ภายในอาคาร ด้านการดูแลถ้าปลูกในอาคาร ควรรดน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำ แล้วรดเดือนละ 1 ครั้ง สามารถดูดสารพิษจำพวกเบนซีน ไตรคลอโรเอทธิลีนและฟอร์มัลดีไฮด์ได้ดี
8. พลูด่าง
ลักษณะทั่วไปมีใบลักษณะเป็นรูปหัวใจ สีเขียวสดสลับกับสีเหลืองนวล เป็นไม้กึ่งแดดและร่มรำไร จึงปลูกได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร อาจได้แสงจากหลอดไฟก็ได้ เจริญได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ด้านการดูแลควรให้น้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นฤดูร้อนอาจให้มากกว่านี้ โดยพิจารณาจากผิวหน้าของดิน สามารถดูดสารพิษได้มาก
9. บอสตันเฟิร์น
ลักษณะทั่วไปมีก้านใบแข็งโค้งออก และทิ้งตัวลงเมื่ออายุมากขึ้น ใบขึ้นหนาทึบไม่มีดอก เป็นพืชกึ่งแดด ปลูกได้ภายในอาคารและนอกอาคาร ด้านการดูแลควรหมั่นรดน้ำ ให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอแต่อย่าให้แฉะ ควรฉีดพ่นละอองน้ำตามใบ เป็นพืชที่คายความชื้นให้ภายในอาคารได้เป็นอย่างดี สามารถดูดสารพิษได้มากโดยเฉพาะฟอร์มัลดีไฮด์
10. ซุ้มกระต่าย
ซุ้มกระต่ายหรือเศรษฐีเรือนแก้ว มีลักษณะต้นขึ้นเป็นกอ เป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัดและรำไร ปลูกภายในบ้านได้ เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ชอบความชื้นปานกลาง ด้านการดูแลควรให้ปุ๋ยควรเป็นปุ๋ยชนิดเม็ดสำหรับใบไม้ หรือให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักละลายน้ำ แล้วรดเดือนละ 1-2 ครั้ง สามารถดูดสารพิษโดยเฉพาะแอมโมเนียได้
11. ไทรใบเล็ก
เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับยางอินเดีย ต่างกันที่ลักษณะของใบที่เรียวเล็กปลายแหลม ขอบใบเรียบและใบเป็นมันเงา เป็นพันธุ์ไม้พุ่มขนาดกลาง เป็นพืชที่ทนทาน อยู่ได้ในที่ที่มีแสงแดดอ่อน จนถึงแสงแดดจัดหรือกลางแจ้ง ด้านการดูแล ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง ไม่ชอบน้ำขัง ถ้าน้ำมากไปใบจะออกสีเหลือง ชอบความชื้นปานกลาง สามารถดูดสารพิษได้มาก
12. วาสนาอธิษฐาน
ลักษณะทั่วไปคือมีลำต้นตั้งตรง มีสีน้ำตาลอ่อน สูงได้ถึง 5-6 เมตร เป็นใบเดี่ยวมีลักษณะเรียวยาว เป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัด แต่อยู่ได้ในที่ร่มรำไร ปลูกในอาคารได้ ด้านการดูแลควรหมั่นรดน้ำ เพื่อให้ดินชุ่มน้ำอยู่เสมอแต่ไม่แฉะ ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำ แล้วรดเดือนละ 1 ครั้ง หมั่นทำความสะอาดใบ โดยใช้ผ้าเช็ดช่วยป้องกันแมลงจำพวกเพลี้ยได้เป็นไม้ที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด สามารถดูดสารพิษภายในอาคาร จำพวกฟอร์มัลดีไฮด์ได้มีประสิทธิภาพ
i
13. เข็มริมแดง
ลักษณะทั่วไปมีใบแหลมเป็นพุ่มแตกออกจากตอหรือลำต้นที่ตั้งตรง เป็นพืชที่ทนทานมาก ถ้าไม่ตัดยอดลำต้นจะสูงไปเรื่อยๆ แต่ถ้าตัดยอด กิ่งใหม่จะแตกออกจากตอเดิม เป็นพืชที่ชอบน้ำมากแต่ไม่ถึงกับแฉะ จึงควรหมั่นฉีดละอองน้ำให้แก่ใบ และควรตั้งไว้ในที่แสงแดดส่องถึง เจริญได้ดีในดินร่วนซุย ด้านการดูแลให้ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำ แล้วรดเดือนละ 1 ครั้ง ดูดสารพิษได้ปานกลางถึงมาก เช่น ไซลีนและไตรคลอโรเอทธิลีน เป็นต้น
14. หนวดปลาหมึก
เป็นไม้กึ่งร่ม ไม่ชอบแสงแดดจัด จึงปลูกได้ภายในอาคาร ต้องการน้ำมาก ปลูกง่าย โตเร็ว ไม่ต้องดูแลมาก ปลูกในอาคารรดน้ำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และต้องการความชื้นสูง จึงต้องหมั่นฉีดละอองน้ำบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงอากาศแห้ง และใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำ แล้วรดเดือนละครั้ง สามารถดูดสารพิษได้มาก
15. กล้วยไม้พันธุ์หวาย
กล้วยไม้พันธุ์หวายเป็นที่รู้จักกันดี และนิยมตัดดอกมาปักแจกัน หรือใช้ประดับตกแต่งในวาระต่างๆ เป็นไม้ที่ปลูกง่าย ด้านของการดูแลก็ง่าย เพียงให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง แต่อย่าให้แฉะเกินไปเท่านั้น ส่วนความสามารถในการดูดสารพิษ ดูดได้มาก โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ อาซีโตน ฟอร์มัลดีไฮด์และคลอโรฟอร์ม ทั้งนี้ยังเป็นพืชที่คายออกซิเจนออกมาตอนกลางคืน และดูดคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป จึงเหมาะที่จะปลูกในห้องนอนนั่นเอง
16. ลิ้นมังกร
ลิ้นมังกรมีหลายชนิด มีทั้งลิ้นมังกรสั้น ลิ้นมังกรยาว และลิ้นมังกรลาย หรือเรียกว่าหอกพระอินทร์ ลิ้นมังกรมีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ในดิน ใบเกิดจากหัวโผล่ออกมาพ้นดินประกอบกันเป็นกอ ดูดสารพิษได้น้อย แต่เป็นพืชที่คายออกซิเจนออกมาตอนกลางคืน และดูดคาร์บอนไดออกไซต์เข้าไป จึงเหมาะที่จะปลูกในห้องนอน
17. เบญจมาศ
ลักษณะทั่วไปจะสูง 0.5-1.2 เมตร ความต้องการแสงแดดปานกลางถึงแสงแดดจัด เจริญได้ดีในดินร่วน มีต้องการน้ำปานกลางและความชื้นสม่ำเสมอ ด้านการดูแลให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักละลายน้ำ แล้วรดเดือนละ 1-2 ครั้ง ถ้าปลูกในอาคารควรตั้งไว้ให้ได้รับแสงส่องถึง ดูดสารพิษได้มาก เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์เบนซีน และแอมโมเนีย เป็นต้น
18. ไทรย้อยใบแหลม
ลักษณะทั่วไปจะสูง 5-10 เมตรเป็นทรงพุ่ม ถ้าปลูกนอกอาคารใบจะเป็นพุ่มแน่น ถ้าปลูกในอาคารใบจะน้อยลงและต้นจะสูงโปร่ง เป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว แข็งแรงทนทาน ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ชอบแดดอ่อนจนถึงแสงแดดจัด ด้านการดูแลถ้าปลูกในอาคาร ให้รดน้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักละลายน้ำ แล้วรดเดือนละ 1 ครั้ง จะเจริญได้ดีในดินร่วนและดินร่วนปนทราย ดูดสารพิษจำพวกฟอร์มัลดีไฮด์ได้ดี
19. เสน่ห์จันทร์แดง
เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นอยู่เหนือดิน ถ้าปลูกในอาคารจะไม่ทนแล้งและโตช้า เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดรำไร และชอบดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดีไม่ชอบน้ำขัง ด้านการดูแลให้ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกละลายน้ำแล้วรดเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนความสามารถในการดูดสารพิษ ดูดได้มาก เช่น แอมโมเนีย เป็นต้น
20. สิบสองปันนา
เป็นปาล์มในสกุลอินทผาลัมที่มีขนาดต้นเล็ก สูง 1.5-2 เมตร ชอบแสงแดดจัดถึงแสงแดดปานกลาง และยังชอบความชื้นสูง จึงต้องดูแลให้ดินชื้นอยู่เสมอ เจริญได้ดีในดินร่วนปนทราย ความสามารถในการดูดสารพิษ ดูดได้มากโดยเฉพาะไซลีน
21. เยอบีร่า
เป็นไม้พุ่มที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นแฉก ชอบแสงแดดปานกลางถึงแสงแดดจัด แต่ปลูกได้ภายในอาคาร เป็นพืชที่ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แต่คายความชื้นได้สูง ควรให้น้ำอย่างเพียงพอ ไม่แฉะ ให้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อย่างสม่ำเสมอ มีความสามารถดูดสารพิษได้มาก
22. ประกายเงิน
เป็นพืชที่ปลูกได้ทั้งกลางแจ้งและที่ร่ม อีกทั้งยังเป็นพืชที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตได้แม้มีแสงน้อยหรือความชื้นน้อย และจะเจริญได้ดีในดินร่วนซุย เป็นพืชที่ต้องการน้ำมากแต่ไม่แฉะ สำหรับการดูแลให้ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกละลายน้ำแล้วรดเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนความสามารถในการดูดสารพิษนั้นได้ปานกลาง แต่ดูดสารเบนซีนได้ดี
ข้อมูลและภาพจาก sanook