สุดยอดวิธี "กดนวดนิ้ว" ก่อนนอนปรับระบบร่างกายให้อ่อนเยาว์ เพิ่มภูมิคุ้มกัน แก้อาการไอด้วย
คอมเมนต์:
วันนี้แอดมินมีวิธีการ "บีบนวดปลายนิ้วมือ" ช่วยกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทสมอง กระตุ้นการเพิ่มเซลล์ประสาทสมอง ป้องกันการเกิดริ้วรอย ขจัดความเหนื่อยล้า แต่ยังบรรเทาความรู้สึกไม่สบายทางกายภาพและควบคุมสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง ว่าแล้วมาดูกันเลยว่ามีจุดใดบ้าง?
โดยอ้างอิงจากแพทย์แผนจีนโบราณ
กดจุด "จงช่งเซียน" --เพิ่มความจำ
Sponsored Ad
ท่า: ปลายเล็บนิ้วกลางใกล้กับนิ้วชี้ด้านข้าง
วิธีการกด: จับด้านข้างของเล็บนิ้วกลางด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมืออีกข้าง
ผล: ทำให้สมองกลีบขมับมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการสร้างความจำ เส้นเลือดในสมองไหลเวียนได้ดี ทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น จดจำอะไรได้มากขึ้น ทำให้สมองมีชีวิตชีวาใหม่สดทุกวัน ที่สำคัญสามารถทำให้สมองยังอ่อนเยาว์อยู่ตลอดเวลา
Sponsored Ad
กดจุด "อายุ" -- ต่อต้านริ้วรอย
ท่า: กดที่ด้านข้างตำแหน่งเส้นเดียวกับนิ้วก้อย (ดังภาพ)
วิธีการกด: กดด้วยนิ้วโป้ง
Sponsored Ad
ผล: สาเหตุหลักของความชราคือการสะสมของอนุมูลอิสระของออกซิเจนในร่างกาย กดจุดฝังเข็มสามารถส่งเสริมการเผาผลาญของอนุมูลอิสระ
กดจุด "จิตวิญญาณ" -- ปรับปรุงภูมิคุ้มกัน
ท่า: แถบด้านข้างที่ด้านในของข้อมือ (ดังภาพ) โดยห่างจากข้อมือลงมา 3 นิ้วมือ
Sponsored Ad
วิธีการกด: หงายฝ่ามือ ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปที่ขอบด้านในของกระดูกระหว่างการนวด
ผล: ภูมิคุ้มกันที่มากเกินไปอาจไม่ดีและภูมิคุ้มกันในระดับปานกลางสามารถป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกดจุดฝังเข็มสามารถกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ปรับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันลดความน่าจะเป็นของการแพ้ปรับปรุงภูมิคุ้มกันและรักษาสถานะที่ค่อนข้างเสถียร
กดจุด "เหอกู่" -- บรรเทาอาการปวด
ท่า: ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดตรงบริเวณอุ้งมือระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ (ดังภาพ)
Sponsored Ad
วิธีการกด: ใช้มืออีกข้างกดตำแหน่งจุดฝังเข็ม โดยกดเข้าไปด้านใน
ผล: จุดเหอกู่ เป็นจุดฝังเข็มที่มีฤทธิ์ระงับความรู้สึกรุนแรงในมือ มีการศึกษายืนยันว่าการกดจุดเหอกู่ ช่วยให้สมองหลั่งสารเอนโดฟิน ทำให้เกิดอาการชา และช่วยบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราว
กดจุด "ไท่หยวน" -- กำจัดอาการคันแห้งในลำคอ
ท่า: กางฝ่ามือออก ใช้นิ้วหัวแม่มืออีกข้างกดตรงจุดตัดของข้อมือ โดยจะขยับมาทางนิ้วหัวแม่มือหน่อย
Sponsored Ad
วิธีการกด: เวลากดนวดให้กดไปทางฝ่ามือเล็กน้อย
ผล: อาการไอ เป็นการป้องกันตัวเองที่ร่างกายกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยเชื้อโรค แต่ในเวลาที่อยู่ในที่สาธารณะก็อดไม่ได้ที่จะไอ ฉะนั้นการกดจุดนี้ก็สามารถยับยั้งอาการไอได้บ้าง
กดจุด "เจียนซือชวน" -- ปรับปรุงอาการท้องผูก
ท่า: หงายฝ่ามือขึ้น กดจุดกึ่งกลางของข้อมือในแนวนอน โดยวัดห่างจากข้อมือลงมา 4 นิ้วมือ
Sponsored Ad
วิธีการกด: กดนวดโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ
ผล: การเข้าห้องน้ำเป็นเวลา ทำให้ระบบในร่างกายมีระเบียบ ช่วยปรับปรุงการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลามากขึ้น ออกกำลังบ้างก็ช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้ด้วย
กดจุด "ซางหยาง" -- ปรับระบบทางเดินอาหาร
วิธีการกดนวด: ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือบีบนวดบริเวณปลายนิ้วมือ ข้างเล็บมือ
ผล: จุดนวด “ซางหยาง” สามารถปรับเส้นประสาท เพื่อให้การทำงานของลำไส้ใหญ่สามารถกลับสู่ปกติ ไม่ว่าจะมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกก็มีประสิทธิภาพมาก นอกจากนี้ควรกินผลไม้ที่อุดมไปด้วยเอนไซม์หลังอาหารเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร
กดจุด “ซื่อตู่”-- แก้อาการหูอื้อ
ท่า: ให้หาจุดกึ่งกลางของเส้นของแขน จากข้อมือถึงข้อศอก จากนั้นถัดลงมาทางข้อศอกอีก 2 นิ้วมือ
วิธีการกด: ใช้นิ้วหัวมแม่มือในการกด
ผล: หูอื้อคืออาการที่หูชั้นในมีเสียงอื้อ ซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบายหู สาเหตุแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ในกรณีส่วนใหญ่มักเกิดจากความเครียดและความเหนื่อยล้าที่มากเกินไป ความกดดันควรได้รับการปล่อย เช่นหาเวลาไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ร้องเพลง ออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่รู้สึกผ่อนคลาย แล้วอาการเหล่านี้ก็จะค่อยๆหายไปเอง
กดจุด "เซาซัง" -- บรรเทาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
วิธีการกดนวด: แบมือโดยคว่ำมือ ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดบริเวณข้างเล็บนิ้วหัวแม่มืออีกข้าง โดยนวดขึ้นไปทางปลายนิ้ว 2 มม.
ผล: ไม่เพียงคนเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เท่านั้น แต่สำหรับคนเป็นหวัดก็สามารถช่วยได้ ในความเป็นจริงการกำจัดสิ่งแปลกปลอมเป็นหน้าที่สำคัญของจมูก และมันก็บ่งชี้ว่าวัตถุแปลกปลอมกำลังบุกรุกร่างกายเมื่อเรามีอาการ “จาม” และอาการกล้ามเนื้อจมูกคัด หรืออาการคัดจมูกยังเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันการบุกรุกของสิ่งแปลกปลอมเข้าทางจมูก
กดจุด "เซินเมิน" -- ควบคุมความดันโลหิต
วิธีการกด: ใช้นิ้วหัวแม่มือกดจุดฝังเข็มเซินเมิน โดยจุดนี้จะอยู่ทางขวาล่างสุดของฝ่ามือ (ดังภาพ)
ผล: การกดที่จุด “เซินเมิน” สามารถปรับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับสู่สภาพที่เหมาะสม แน่นอนการกดจุดควรอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามการกดจุกเซินเมิน แม้ว่าจะว่าออกแรงมากเกินไปก็ไม่มีปัญหาทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและลดลงอย่างกะทันหัน
กดจุด “เสี่ยวเจ๋อ” -- ส่งเสริมการไหลเวียนโลหิต
ท่า: ใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือกดลงไปตรงบริเวณใต้เส้นข้อมือลงมา 1 นิ้วมือ
วิธีกด: ใช้ปลายนิ้วเพื่อกดบริเวณจุด “เสี่ยวเจ๋อ” โดยใช้นิ้วชี้กดหลังมือไว้ด้วย เพื่อช่วยพยุงนิ้วหัวแม่มือให้มีแรงกด
ผล: จุด “เสี่ยวเจ๋อ” มีฟังก์ชั่นการส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตภายในร่างกายที่ดี และการไหลเวียนโลหิตที่ดีเป็นกุญแจสำคัญต่อสุขภาพและความงาม โดยการกดที่นี้สามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อของคุณส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตและรักษาการไหลเวียนของเลือดที่ดี
กดจุด “หยิงซี่” -- รักษาโรคหอบหืด
ท่า: กดบีบบริเวณปลายนิ้วก้อย
วิธีการกด: ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมืออีกข้าง ประกบปลายนิ้วก้อยกดเข้าไปถึงกระดูก กดค้างไว้ประมาณ 5 วินาที หรือจะกด-ปล่อยก็ได้
ผล: จุดนี้ช่วยบรรเทาอาการโรคหอบหืด
ที่มา : hotqzone
แปลและเรียบเรียงโดย โลกของโฮ่ง