หมดหน้าทำนา พื้นที่ว่าง ผันตัวปลูก "โอโตะ" ฟักทองไทย ปลูกง่าย สร้างรายได้งาม
คอมเมนต์:
“เกษตรกรไทยชอบปลูกพืชผักที่ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก ฟักทองเลยกลายเป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูก แต่เมล็ดพันธุ์ที่มีในบ้านเราเป็นพันธุ์ลูกผสม ปลูกได้หนเดียวไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้ กลายเป็นต้นทุนที่เกษตรกรไม่อาจหลีกหนีได้”
ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.ลำปาง เผยถึงที่มาของการคิดปรับปรุงฟักทองพันธุ์ใหม่…พันธุ์โอโตะ
Sponsored Ad
จากการสังเกตพฤติกรรมเกษตรกรใน จ.ลำปาง หลังหมดหน้านามักจะปล่อยพื้นที่ว่าง ดร.จานุลักษณ์ จึงคิดหาพืชผักที่ปลูกส่งเสริมชาวบ้านสร้างรายได้ มุ่งไปที่ฟักทองเพราะปลูกง่าย ตรงกับนิสัยเกษตรกรไทยที่เลือกปลูกพืชที่ดูแลง่าย ปลูกทิ้งขว้างปล่อยให้เทวดาฝนฟ้าดูแล เลยชักชวนชาวบ้านให้ปลูกฟักทอง
Sponsored Ad
“เริ่มแรกปรับพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกฟักทองตั้งความหวังว่าถึงเวลาเก็บผลให้ได้เงินก้อน ชาวบ้านเห็นเดี๋ยวก็ทำตาม แต่ถึงเวลาฟักทองที่ปลูกให้ผลผลิตเก็บไม่ถึง 10 ลูก
สาเหตุเพราะช่วงที่ฟักทองออกดอกตรงกับต้นฤดูฝน ช่วงเวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืน ฟักทองให้ดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย
Sponsored Ad
การติดผลเลยน้อย แม้ขนาดของผลจะใหญ่ก็ตามแต่เนื้อร่วน รสจืด สีเนื้อซีด ไม่ถูกปากผู้บริโภค” จุดนี้เลยกลายโจทย์ให้ ดร.จานุลักษณ์ พัฒนาพันธุ์ฟักทองให้ปลูกได้ตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตตรงกับความต้องการของตลาดทั้งสีเหลืองสด รสชาติหวาน เปลือกบาง
สามารถเก็บเมล็ดให้เกษตรกรใช้ทำพันธุ์ในรุ่นต่อไปได้ด้วย เริ่มจากนำพันธุ์ฟักทองที่ผ่านการเลือกพันธุกรรมอย่างหลากหลาย นำมาปรับปรุงผสมข้ามกับพันธุ์พื้นเมือง คัดต้นที่ให้ผลผลิตดีตรงกับโจทย์ที่ตั้งไว้ ทำซ้ำๆ 6 ชั่วรุ่นนาน 4 ปี กระทั่งได้ฟักทองที่มีขนาดผลละ 3-4 กก.
Sponsored Ad
เปลือกบาง ผิวผลขรุขระ เนื้อหนาสีเหลืองเข้ม นำไปนึ่งให้สุกเนื้อฟักทองมีรสชาติหวาน ตรงกับพฤติกรรมการบริโภคของคนไทย และยังมีความทนทานต่อโรคราแป้งอีกด้วย และเมื่อทีมวิจัยนำไปปลูกทดสอบในพื้นที่ลพบุรี สุรินทร์ และลำปาง ปรากฏว่าได้ผลผลิต 3-5 ตันต่อไร่
Sponsored Ad
หลังพัฒนาสายพันธุ์เป็นผลสำเร็จ ได้ทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อว่า ‘โอโตะ’ ผศ.ดร.จานุลักษณ์ แจกแจงถึงที่มาของชื่อ “โอโตะ”
โดยบอกว่า...เพื่อระลึกถึง นายโมโตนางา โอโตะ ชาวญี่ปุ่น อดีตข้าราชการองค์กรพัฒนาการเกษตรระหว่างประเทศ ที่เข้ามาถวายงานรับใช้นานหลายปี หลังเสียชีวิตได้ทำพินัยกรรมยกมรดกของตัวเองทูลเกล้าฯถวายเพื่อใช้ในกิจการส่วนพระองค์ พัฒนาการปรับปรุงพันธุ์พืช
.
.
.
ข้อมูลและภาพจาก ไทยรัฐ